วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556


    



                                 แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย

 

                        


                           ประวัติศาสตร์ จังหวัดหนองคาย


               ประวัติเมืองหนองคาย 


          ประวัติศาสตร์ของเมืองหนองคายเริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปีเศษ พื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็ก ๆ 4 เมือง คือ เมืองพรานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค เมืองไผ่ (บ้านบึงค่าย) ปัจจุบันยังพบซากโบราณสถานอยู่ตามวัดต่าง ๆ ริมแม่น้ำโขงบนเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่
          ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฎ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาราชเทวี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ท้าวสุวอขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่ และเลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า หนองคาย ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง 

                       สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดหนองคาย

               วัดหินหมากเป้ง

                       อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


                                                              วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) ถึง กม. 64 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2186 วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม อาจารย์เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสด


               

                สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

          

              อำเภอเมือง จ.หนองคาย


              สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ของ สปป.ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวทั่วไปที่ต้องการเดินทางจากหนองคายไปเวียงจันทน์ จำเป็นต้องใช้สะพานแห่งนี้ ตัวสะพานมีความยาว 1,137 เมตร กว้าง 12.7 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมือง เครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย                                                                                                                                               

          การเดินทางท่องเที่ยวประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย                 ประชาชนลาว โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว


                   นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยตัวเอง หรือใช้บริการนำเที่ยวจากบริษัทนำเที่ยวที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ด่านจะเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-22.00น.


            เอกสารประกอบการเดินทาง

      ชาวไทย    ต้องทำบัตรผ่านแดนที่ศาลากลางจังหวัดหนองคาย โทร. 0 4241 1778 เปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ค่าธรรมเนียมคนละ 40 บาท หรือติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่รับดำเนินการให้ ค่าบริการ 100 บาท เอกสารประกอบการทำบัตรผ่านแดนคือ สำเนาบัตรประชาชนและรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป กรณีผู้ติดตามอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตรแทนสำเนาบัตรประชาชน และนำบัตรผ่านแดนไปประทับตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 10 บาท ค่ารรมเนียมฝั่งลาว วันจันทร์-ศุกร์ 50 บาท เสาร์-อาทิตย์ 70 บาท อายุผ่านแดน 3 วัน หากอยู่เกินต้องขอต่อที่กระทรวงภายใน สปป.ลาวและใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปเมืองชายแดนไทย-ลาวไม่เกิน 25 กิโลเมตร หากเดินทางไปเมืองอื่นต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่า
   ชาวต่างประเทศ ต้องใช้หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมวีซ่า โดยยื่นขอวีซ่าได้ที่สถานฑูตลาวประจำประเทศไทย 520/1-3 ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร.0 2539 6667 หรือสถานกงสุลลาว 18/1-3 ถนนโพธิสถิตย์ บ้านโนนทัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4322 1861,0 4322 3688 ทั้งนี้ต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนเข้าประเทศอย่างน้อย 3 วันทำการ หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวดำเนินการได้ อนุญาตให้อยู่ในลาวได้ 30 วัน หรือติดต่อขอ visa on arrival ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว อยู่ในลาวได้ 15 วัน

   ชาวต่างประเทศ ต้องใช้หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมวีซ่า โดยยื่นขอวีซ่าได้ที่สถานฑูตลาวประจำประเทศไทย 520/1-3 ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร.0 2539 6667 หรือสถานกงสุลลาว 18/1-3 ถนนโพธิสถิตย์ บ้านโนนทัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4322 1861,0 4322 3688 ทั้งนี้ต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนเข้าประเทศอย่างน้อย 3 วันทำการ หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวดำเนินการได้ อนุญาตให้อยู่ในลาวได้ 30 วัน หรือติดต่อขอ visa on arrival ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว อยู่ในลาวได้ 15 วัน

            การนำรถยนต์ออก-เข้าประเทศ


                 ปัจจุบัน บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) เส้นทางจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์แล้ว ค่าโดยสารเที่ยวละ 55 บาท/คน (สัมภาระไม่เกินคนละ 20 กิโลกรัม) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4224 7950-2 

ต้องทำเอกสารนำรถออกและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด สามารถติดต่อบริษัททัวร์ในหนองคายดำเนินการให้ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ด่านศุลกากรจังหวัด โทร. 0 4241 1518,0 4242 1468-9 โทรสาร 0 4241 2654



   บึงโขงหลง

         อำเภอบึงโขงหลง จ.หนองคาย



บึงโขงหลง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงนิเวศ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 8,064 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2523 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี 2525 บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ 1,098 ของโลก (Wetland of International Importance) ประกาศขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2544 มีพื้นที่กว่า 22 ตารางกิโลเมตร ยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชนิด เช่น นกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก มีปลาที่หาดูยากคือ ปลาบู่แคระ 


                วัดโพธิ์ชัย

          อำเภอเมือง จ.หนองคาย

                             วัดโพธิ์ชัย  เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ 

               ภูทอก

          
อำเภอศรีวิไล จ.หนองคาย

          ภูทอก น้อยเป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุดพ้น ด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน ดังนั้นผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่ บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกัน  ดังนี้    

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ

ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม
          

        การเดินทาง ภูทอก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร


               พระธาตุบังพวน

          อำเภอเมือง จ.หนองคาย

             พระธาตุบังพวน เป็นเจดีย์เก่าแก่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายมาช้านาน ตัวองค์พระธาตุเดิมสร้างด้วยอิฐเผา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น เป็นสถูปแบบอินเดียรุ่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้พังทลายลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 เนื่องจากฐานทรุด เจดีย์องค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เป็นรูปปรางค์สี่เหลี่ยมต่อกันเป็นบัวปากระฆัง มีฐานทักษิณ 5 ชั้น กว้าง 17.20 เมตร ชั้นที่ 6 เป็นรูประฆังคว่ำ ชั้นที่ 7 เป็นรูปดาวปลี เหนือขึ้นไปเป็นที่ตั้งฉัตร สูงจากพื้นดิน 34.25 เมตร ชาวหนองคายจัดงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 11 ค่ำเดือนยี่ของทุกปี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ สัตตมหาสถาน หรือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งในพุทธประวัติหลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วและได้เสด็จ
ประทับเสวยวิมุติสุขแห่งละ 7 วัน และสระปัพพฬนาค หรือสระพญานาค ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ก็จะนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อเป็นสิริมงคล


          การเดินทาง พระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู ตำบลพระธาตุบังพวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 23 กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองหนองคายมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (หนองคาย-อุดรธานี) ประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 211 ทางไปท่าบ่อ ถึงกม. 10 วัดอยู่ด้านขวามือ 

             

               ศาลาแก้วกู่
         
          อำเภอเมือง จ.หนองคาย


         ศาลาแก้วกู่ ศาลาแก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้ งานปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆ รูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์ และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.30 น. ค่าเข้าชม 10 บาท 


                  อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
         

           อำเภอเมือง จ.หนองคาย

                                  อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้น รับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง ที่อนุสาวรีย์ทั้ง 4 ทิศ มีคำจารึกภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์ในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี 


               

                      หมู่บ้านทำยาสูบ
           

           อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย

   หมู่บ้านทำยาสูบ อยู่บริเวณเส้นทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอท่าบ่อ (ทางหลวงหมายเลข 211) มีชาวบ้านทำไร่ยาสูบตามแนวเรียบริมฝั่งโขง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก                                                                                                         

                                                                                                                                                                  น้ำตกธารทิพย์


          อำเภอสังคม จ.หนองคาย

                               น้ำตกธารทิพย์ อยู่เลยอำเภอสังคมไปประมาณ 9 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 211 ถึงบริเวณ กม. 97-98 มีป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าอีก 100 เมตรจึงถึงตัวน้ำตก น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกที่สูงและสวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตกชั้นแรกสูงประมาณ 30 เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาวสีขาวสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทางที่ทำไว้ และชั้นที่ 3 สูงประมาณ 70 เมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี และจะมีน้ำมากในฤดูฝน 


                  น้ำตกธารทอง
        
                อำเภอสังคม จ.หนองคาย

                                                 น้ำตกธารทอง อยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตั้ง การเดินทางใช้เส้นทางหนองคาย-ศรีเชียงใหม่-สังคม (ทางหลวงหมายเลข 211) ผ่านบ้านไทยเจริญ แล้วต่อไปบ้านผาตั้ง บริเวณหลัก กม.ที่ 74 ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวามือ ส่วนด้านซ้ายมือของถนนเป็นบริเวณลานจอดรถ น้ำตกธารทองมีลักษณะเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน มีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ ก่อนจะลดระดับเกิดเป็นชั้นน้ำตกเล็ก ๆ เป็นระยะลดหลั่นกันไปประมาณ 30 เมตรและไหลลงสู่ลำน้ำโขงในที่สุด ช่วงเวลาที่มีน้ำมากเหมาะแก่การมาเที่ยวชมคือระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม บริเวณโดยรอบเป็นสวนรุกขชาติมีป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น 


               เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

          อำเภอบุ่งคล้า จ.หนองคาย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร


                                          

                      แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่  

      น้ำตกถ้ำฝุ่น 

 

  น้ำตกถ้ำฝุ่น อยู่ในบริเวณท้องที่บ้านภูสวาท ตำบลหนองเดิ่น บนเส้นทางหมายเลข 212 ก่อนถึงอำเภอบุ่งคล้า 7 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปน้ำตกประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณป่าโปร่งที่มีทิวทัศน์สวยงามทางตอนเหนือของภูวัว ทางเดินไปน้ำตกผ่านลานหินทรายกว้างขวาง จนมาสุดทางที่น้ำตกที่ไหลมาจากหน้าผาหินทรายที่มีลักษณะเป็นร่องแคบ มองเห็นสายน้ำตกมาเป็นทางยาว มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน บริเวณใกล้เคียงมีเพิงผาหินเป็นแนวยาวเรียกว่า ถ้ำฝุ่น

             น้ำตกเจ็ดสี

น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา หากเดินทางมาตามทางหมายเลข 212 ก่อนถึงบุ่งคล้า 12 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึงน้ำตกเป็นระยะทางอีก 28 กิโลเมตร หรือหากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่านบ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะทางจากภูทอก 14 กิโลเมตร น้ำตกเจ็ดสี เป็นน้ำตกที่สวยงามมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว สายน้ำตกกระทบหินเบื้องล่างเกิดเป็นละอองไอน้ำ ยามเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดสีต่างๆ ขึ้น จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี


       น้ำตกภูถ้ำพระ 

น้ำตกภูถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณบ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา อยู่ห่างจากอำเภอเซกาประมาณ 34 กิโลเมตร มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ของภูวัว แต่การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างลำบาก เดินทางจากอำเภอบุ่งคล้าไปตามทางหมายเลข 212 ระยะทาง 24 กิโลมตรถึงบ้านท่าดอกคำ มีทางดินแยกขวาไปจนถึงห้วยบางบาตรและต่อเรือชาวบ้านไปยังน้ำตก บริเวณน้ำตกจะเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ เงียบสงบและร่มรื่น เมื่อเดินขึ้นมาบนลานหินด้านหลัง จะพบหุบเขารูปแอ่งกระทะขนาดกว้างประมาณ 200 ตารางเมตร มีสายธารน้ำตกไหลมายังก้นอ่างที่เบื้องล่าง บริเวณน้ำตกเป็นผากว้างราว 100 เมตร สูง 50 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้

            น้ำตกชะแนน


น้ำตกชะแนน เดิมชื่อน้ำตกตาดสะแนน ตาดแปลว่า "ที่ซึ่งมีน้ำไหล" สะแนนมีความหมายว่า "สูงสุดยอด" หรือ "เยี่ยมยอด" ตั้งอยู่ที่บ้านภูเงิน ในเขตอำเภอเซกา ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกเจ็ดสี โดยใช้เส้นทางบ้านชัยพร-บ้านภูเงิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร จะมีทางแยกไปน้ำตกชะแนนอีก 5 กิโลเมตร ทางช่วงสุดท้ายเป็นทางดินแคบขรุขระและไม่สะดวก ต้องใช้มอเตอร์ไซค์เท่านั้น น้ำตกชะแนนเกิดจากลำห้วยสะแนนไหลลดหลั่น 2 ชั้น มีขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ระหว่างชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ห่างกัน 300 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ระหว่างทางจะผ่านขัวหิน (สะพานหิน) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้สะพานหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร การเดินทางไปชั้นที่สองของน้ำตกชะแนน จะผ่านแนวลำธารที่พื้นเต็มไปด้วยโขดหิน เดินตามลำธารไปทางชายฝั่งด้านซ้ายมือ ทะลุออกที่ลานกว้างริมแอ่งน้ำใหญ่ เหนือแอ่งน้ำขึ้นไปก็เป็นน้ำตกชั้นเตี้ยๆ ตกลงมาสู่แอ่ง เรียกกันว่า น้ำตกบึงจระเข้


               หาดจอมมณี

          อำเภอเมือง จ.หนองคาย


หาดจอมมณี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร ตามถนนเลียบแม่น้ำโขง เป็นหาดทรายริมแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ชายหาดมีความยาวประมาณ 200 เมตร ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนเมษายน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวในจังหวัดและจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียง เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พัทยาอีสาน” อีกทั้งทิวทัศน์ในบริเวณหาดทรายยังสามารถมองเห็นบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ได้อย่างชัดเจน 


                        น้ำตกวังน้ำมอก

          อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


น้ำตกวังน้ำมอก อยู่ในเขตวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท เป็นน้ำตกสูง 30 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของหมุ่บ้าน เลยเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ออกไปทางอำเภอสังคม ประมาณ 28 กิโลเมตร ก่อนถึงวัดหินหมากเป้ง 20 เมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านวังน้ำมอก ระยะทางจากทางแยกเข้าสู่น้ำตกประมาณ 7 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์จนถึงตัวน้ำตกได้โดยไม่ต้องเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีแนวสันภูเป็นผาหินมีลักษณะแปลกตา ธารน้ำไหลระยะทางลดหลั่นกันไป ตอนล่างเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลานหิน สามารถลงเล่นน้ำและอาบน้ำได้ ช่วงเวลาที่มีน้ำได้แก่ ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด
ประกอบกับผู้คนที่มาท่องเที่ยวสามารถพักค้างคืน (โฮมสเตย์) และเดินเที่ยวป่า รวมทั้งยังร่วม พิธีบายศรีสู่ขวัญ และซุมข้าวแลง (กินข้าวเย็นด้วยกัน) ซึ่งเป็นประเพณีของชาวบ้านวังน้ำมอกในการต้อนรับกับคนแปลกถิ่นที่มาเยือน จึงสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนเป็นอย่างดี อาหารพื้นบ้านที่ท่านจะได้ลิ้มรส อันได้แก่ แกงหน่อไม้ ตำสับปะรด ปลาทอดสมุนไพรกรอบ ฯลฯ
สนใจชุดการท่องเที่ยวบ้านวังน้ำมอกไปจนถึงการเที่ยวป่า ติดต่อที่ คุณติณณภพ โทร. 08 6232 5300 


               ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย


          อำเภอรัตนวาปี จ.หนองคาย



ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย ตั้งอยู่ที่ถนนหนองคาย-บึงกาฬ (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 63 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางแยกขวาที่บ้านนายางเข้าไปอีก 200 เมตร เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขงจึงทำให้เป็นเขตที่มีความชุ่มชื้นสูงหลากหลายไปด้วย
พันธุ์ไม้ที่ทดลองปลูกซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ทั่วบริเวณ ได้แก่ แปลงไม้ผล มีทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วงหิมพานต์ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่ได้อนุรักษ์ไว้เช่น ต้นมะเกี๋ยงที่นำไปทำไวน์และน้ำมะเกี๋ยง แปลงผักพื้นบ้านที่ชาวอีสานนิยมนำไปจิ้มน้ำพริก แนมลาบ เช่น กระเจียว ผักกาดย่า ส้มโมง ผักหวานป่า แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หอมกว่า 100 ชนิด และสมุนไพรพื้นถิ่นภาคอีสาน ในช่วงฤดูหนาวมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสีสันสวยงามด้วย นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง 

*** สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4242 1257